3 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเลือกซื้อโต๊ะปรับระดับความสูง มาบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม

วิธีการเลือกโต๊ะปรับระดับความสูง

ก่อนที่จะควักเงินซื้อโต๊ะปรับระดับความสูงเพื่อนำมาใช้บรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรมนั้น เรามาทดสอบให้แน่ใจก่อนว่ามันช่วยและก็เหมาะกับเราจริงๆ จากนั้นเราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับโต๊ะปรับความสูงในแต่ละแบบเพื่อที่จะสามารถเลือกซื้อโต๊ะที่เหมาะกับผู้ใช้งาน และสุดท้ายเราจะแชร์เคล็ดลับการใช้โต๊ะยืนทำงานให้ได้ผล

  1. ทดสอบว่าการยืนทำงานสลับกับการนั่งทำงานนั้นเหมาะสมกับเรา
  2. ขั้นตอนที่เรามักจะแนะนำผู้ที่สนใจแนวทางนี้คือให้ทดลองดูก่อนว่าการยืนทำงานนั้นเหมาะสมกับผู้ใช้หรือเปล่า มีวิธีที่ง่ายที่สุดและไม่มีค่าใช้จ่ายคือ ลองเอากล่องกระดาษหรือสมุดที่มีความหนามาตั้งไว้บนโต๊ะเพื่อให้ได้ความสูงที่พอเหมาะแล้วทดลองยืนหรือนั่งสลับกันไป โดยมีการตั้งเวลาเอาไว้ เริ่มแรกแนะนำว่าใหัตั้งเวลาแบบนี้ครับ คือ นั่ง 45 นาทีและยืน 15 นาที แล้วก็ทดลองดู 3 วันเต็มๆก็น่าจะเห็นผลว่าการยืนทำงานเหมาะสมกับตัวเรามั้ย ลองสังเกตุดูครับว่าอาการปวดหลัง ปวดไหล่เป็นอย่างไรบ้าง หรือตกเย็นแล้วยังรู้สึกกระปรี้กระเปร่าไม่เหนื่อยเหมือนเคยมั้ย

  3. วิธีการเลือกโต๊ะยืนทำงาน
  4. ถ้ามั่นใจแล้วว่าการยืนทำงานเนี่ยมันดีต่อสุขภาพและการทำงานของเรา ก็ขอให้จัดโต๊ะยืนทำงานซักตัวครับ โต๊ะดีๆจะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นเป็นกอง เพราะเจ้าโต๊ะปรับความสูงจะช่วยให้เราเปลี่ยนท่านั่งเป็นยืน และกลับเป็นนั่งได้อย่างสะดวกรวดเร็วมาก ปัจจุบันก็มีโต๊ะที่ถูกออกแบบมาอย่างหลากหลาย ด้วยราคาและคุณสมบัติที่แตกต่างกันเหมาะกับเงินในกระเป๋าแน่นอน พร้อมแล้วก็ไล่ตามแผนภาพด้านล่างเพื่อเลือกโต๊ะที่เหมาะกับเราได้เลยครับ (กดคลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ได้นะครับ)
    วิธีการเลือกโต๊ะปรับระดับความสูง
    วิธีการเลือกโต๊ะปรับระดับความสูง (กดคลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่ได้นะครับ)
    เรารวบรวมข้อมูล ราคา คุณสมบัติ ข้อดีข้อเสีย ของโต๊ะปรับความสูงแต่ละแบบมาให้ตามนี้ครับ โดยเริ่มที่กลุ่มผู้ใช้เริ่มต้นที่ต้องการทดลองยืนและนั่งสลับกัน

    1. Carton box
    2. Carton Box กล่องแข็งๆ รีมกระดาษ ลังไม้ อะไรก็ได้ที่แข็งแรงพอให้สามารถวางโน๊ตบุ๊ค หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือคีย์บอร์ดได้ เรียกได้ว่าเป็นอุปกรณ์เริ่มต้นที่เราสามารถหาได้รอบตัวและนำมาทดลองแนวคิด ยืนและนั่งสลับกันได้
      ราคา: ฟรี
      ข้อดี: สามารถหาอุปกรณ์เหล่านี้ได้ง่าย
      ข้อเสีย: อุปกรณ์เหล่านี้ชำรุดได้ง่าย ไม่สะดวกในการขยับอุปกรณ์ต่างๆ ขึ้นๆลงๆ

    3. Japanese Desk
    4. Japanese Desk หรือที่เราเรียกกันว่าโต๊ะญี่ปุ่น ให้เลือกโต๊ะที่มีขาตั้งที่มีความสูงที่พอเเหมาะกับเรา มาตั้งไว้บนโต๊ะที่เรามีอีกที เราก็จะสามารถเปลี่ยนโต๊ะทำงานของเราให้สามารถยืนทำงานได้ ข้อควรรู้คือโต๊ะทำงานที่เราใช้กันอยู่นั้นปรกติจะมีความสูงอยุ่ที่ 73.66 เซนติเมตร(28 นิ้ว) ดังนั้นก็ลองคำนวณขนาดขาโต๊ะญี่ปุ่นที่เหมาะกับความสูงของเราได้เลย
      ราคา: 159 – 549 บาท
      ข้อดี: มีความมั่นคงและราคาถูกที่สุด
      ข้อเสีย: ถ้าเราต้องการสลับระหว่างการยืนหรือนั่งนั้นจะค่อนข้างยุ่งยากเล็กน้อย ยิ่งถ้าเราใช้ เครื่อง PC การยกหน้าจอ คีย์บอร์ดและเมาส์ขึ้นลงก็ดูไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าไหร่นัก

      กลุ่มผู้ใช้ที่มั่นใจแล้วว่าต้องการที่จะยืนและนั่งสลับกันไประหว่างการทำงาน แต่มีโต๊ะทำงานตัวเก่าอยู่แล้ว ซึ่งต้องการความคล่องตัวที่สูงขึ้นในการปรับเปลี่ยนอิริยาบถและมีราคาที่ไม่แพง

    5. Slim Riser*
    6. Slim Riser อุปกรณ์ตัวนี้เป็นโต๊ะปรับความสูงที่ใช้การดีไซน์เน้นที่ความบางของตัวโต๊ะและซ่อนกลไกลสปริงเอาไว้ที่ด้านล่าง เหมาะที่จะใช้กับโน๊ตบุ๊ค หรือมีของที่ต้องวางบนโต๊ะไม่เยอะ เพราะตัวโต๊ะมีขนาดเล็กและรับน้ำหนักได้ 7-10 กิโลกรัม
      ราคา: 4,700 – 5,400 บาท
      ข้อดี: ดูดีมีความโปร่งสบายเมื่อปรับระดับของโต๊ะลงสุด บางรุ่นออกแบบมาให้ยก และเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก
      ข้อเสีย: ระดับของโต๊ะสูงขึ้นไม่มากคือ 3.8 – 40 เซนติเมตร

    7. Classic Riser ขนาดมาตรฐาน*
    8. Classic Riser ขนาดใหญ่*
    9. Classic Riser ขนาดพิเศษ*
    10. Classic Riser โต๊ะแบบเดียวกันแต่มีความต่างที่ขนาด ซึ่งเป็นโต๊ะปรับความสูงที่ใช้โช๊คแก๊สเพื่อช่วยทุ่นแรงในการปรับระดับความสูงของโต๊ะทำงาน และออกแบบให้มีการยกจอคอมพิวเตอร์ขึ้นระดับสายตาเพื่อให้ถูกหลักสรีระศาสตร์ ทั้งนี้เนื่องจากโต๊ะแบบนี้ได้รับความนิยมสูงสุดจึงมีหลายรูปแบบ ทั้ง
      • ระบบปรับความสูงที่มี แบบแก๊สปั้ม 1 ตัว, 2 ตัว หรือระบบสปริง
      • ระบบล็อคความสูงโดยล๊อคด้วยรางเหล็ก หรือตัวโช๊คเอง
      • วัสดุที่ใช้ในการผลิต เช่น เหล็ก หรืออลูมิเนียม
      • โครงสร้างของโต๊ะที่มีทั้งเป็นลักษณะตัว X วางขนาดกันด้านข้าง หรือตัว X ขนานกันด้านหน้า
      • การยกตัวขึ้นในแนวตั้งหรือเอนเข้าหาผู้ใช้งาน
      • ความลึกของตัวโต๊ะ ที่ทำให้หน้าจออยู่ห่างจากผู้ใช้อย่างเหมาะสม (ควรจะมี 50 เซนติเมตรโดยประมาณ)
      • พื้นที่ของโต๊ะพอสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการใช้งาน
      • ขนาดของที่วางเมาส์และคีย์บอร์ด
      ทั้งหมดนี้ทำให้ตัวโต๊ะมีราคาแต่งต่างกัน โดยส่วนตัวแนะนำให้เลือก โต๊ะปรับระดับที่เราจัดจำหน่าย (ขอขายของนิดนึงครับ ^ ^) เนื่องจากเป็นรุ่นที่ออกแบบมาโดยคำนึงถึงหลักสรีระ ความแข็งแรง และปลอดภัยสูงสุด แม้จะปรับระดับให้สูงแค่ไหนก็ไม่ยวบและไม่สั่นแม้เราจะพิมพ์คีย์บอร์ดแรงแค่ไหนก็ตาม
      ราคา: 6,900 – 10,900 บาท
      ข้อดี: ราคาไม่แพง ปรับระดับความสูงได้อย่างรวดเร็วทำให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง มีความมั่นคงแข็งแรง
      ข้อเสีย: ตัวโต๊ะและโครงสร้างใหญ่ทำให้โต๊ะทำงานดูเทอะทะ

    11. Electric Desk Riser
    12. Electric Desk Riser คือ Classic Riser ที่ปรับกลไกลโครงสร้างให้อยู่ด้านหน้าและสามารถปรับความสูงได้โดยใช้ไฟฟ้า
      ราคา: 9,900 – 12,900 บาท
      ข้อดี: สามารถปรับระดับได้ด้วยไฟฟ้าและปรับความสูงไปที่ระดับใดก็ได้
      ข้อเสีย: ใช้เวลาในการปรับระดับนานประมาณ 10 วินาที และเนื่องจากโครงสร้างนั้นเป็นแบบตัว X ด้านหน้าทำให้เวลาที่พิมพ์คีย์บอร์ดยังเจออาการสั่นของจออยู่บ้างทำให้รู้สึกรำคาญเล็กน้อย

    13. Monitor Arm
    14. Monitor Arm ปรกตินั้นจะมีการใช้ แขนจับหน้าจอเพื่อช่วยปรับความสูงต่ำของหน้าจออยู่แล้ว ทีนี้ก็มีการเพิ่มส่วนของฐานเข้าไปที่แขนเพื่อใช้วางคีย์บอร์ดและเมาส์ ทำให้ผู้ใช้สามารถยืนทำงานได้
      ราคา: 4,000 – 6,500 บาท
      ข้อดี: ระบบแขนกลที่ทำให้สามารถเคลื่อนที่ขึ้นลงซ้ายขวาได้อย่างคล่องแคล่ว
      ข้อเสีย: ไม่แข็งแรง เมื่อพิมพ์ใช้งานแล้วมีการสั่นไหว

      กลุ่มสุดท้ายนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการโต๊ะตัวใหม่ที่สามารถยืนหรือนั่งทำงานได้เลย

    15. Bar Table
    16. Bar Table โต๊ะบาร์คือโต๊ะที่มีความสูงระดับที่พอเหมาะกับ กับการยืนเลย แล้วผู้ใช้ค่อยหาเก้าอี้ที่มีความสูงพอเหมาะมาใช้กับโต๊ะนี้ซึ่งโดยทั่วไปก็จะมีขายเป็นเซ็ตอยู่แล้ว เราจะเห็นโต๊ะจำพวกนี้ได้ตามร้านกาแฟ
      ราคา: 3,800 – 15,900 บาท
      ข้อดี: มั่นคงแข็งแรง 100% และราคาไม่สูง โดยถ้าเลือกแบบที่เข้ากับออฟฟิศหรือบ้าน ก็ทำให้บ้านเราดูดีมีสไตล์
      ข้อเสีย: เนื่องจากโต๊ะนั้นปรับไม่ได้ จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนเก้าอี้ให้เป็นเก้าอี้บาร์ด้วย

    17. Crank handle desk
    18. Crank Handle Desk โต๊ะที่สามารถปรับความสูงโดยการใช้หมุนที่แกน ตัวอย่างที่ง่ายสุดคือลองนึกถึงโต๊ะอาหารที่เราใช้สำหรับทานอาหารในห้องพักของโรงพยาบาล
      ราคา: 11,000 บาท
      ข้อดี: ราคาไม่แพงมาก
      ข้อเสีย: ต้องใช้แรงเยอะ และใช้เวลานานเพื่อหมุนปรับระดับความสูงของโต๊ะ

    19. Airlift Desk*
    20. Airlift Desk โต๊ะที่มีการนำระบบโช๊คแก๊สเข้ามาช่วยแทนแกนหมุน เวลาเราปรับระดับความสูงจึงเพียงแค่บีบที่แกนปลด จากนั้นค่อยๆประคองระดับโต๊ะขึ้นลงตามความสูงที่ต้องการ
      ราคา: 12,900 บาท
      ข้อดี: ราคาปานกลาง สามารถปรับความสูงได้อย่างรวดเร็ว มีพื้นที่ใช้งานเยอะมาก
      ข้อเสีย: ถ้าไม่ได้ใช้งานโต๊ะเป็นเวลานาน พอกลับมาใช้งานอาจต้องใช้แรงกดที่โต๊ะซักเล็กน้อยในการปรับระดับความสูง

    21. Electric Height Adjustable Desk
    22. Electirc Height Adjustable Desk เป็นโต๊ะที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากลูกค้าสามารถกำหนดหน้าโต๊ะตามความต้องการไม่ว่าจะเป็นไม้จริง หรือ ไม้อัด อีกทั้งยังมีคุณสมบัติพิเศษให้เลือกได้ เช่น รูปแบบของ แผงหน้าปัด ระบบจดจำค่าความสูง ระบบสั่งงานด้วยมือถือ ระบบขาโต๊ะ 2 ส่วนหรือ 3 ส่วน ความเร็วมอเตอร์ในการปรับความสูง ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ทำให้ตัวโต๊ะมีราคาแตกต่างกัน
      ราคา: 19,900 – 30,000 บาท
      ข้อดี: สามารถปรับความสูงโดยใช้ไฟฟ้า
      ข้อเสีย: ราคาสูงมาก ในรุ่นล่างๆนั้นใช้เวลานานในการปรับระดับความสูงให้ได้ระดับ

  5. การใช้งานโต๊ะปรับระดับความสูง
  6. สุดท้ายเราหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจเลือกโต๊ะปรับระดับที่เหมาะสมกับความต้องการและเงินในกระเป๋าได้ แต่อย่าลืมว่า ไม่ว่าโต๊ะแบบไหนสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ “ความมีวินัย” ในการปรับเปลี่ยนอิริยาบถในแต่ละวันเพื่อที่กล้ามเนื้อของเราจะไม่กลับไปถูกกดทับเป็นเวลานาน และแน่นอน Standing Desk Thai คำนึงถึงสิ่งนี้ไว้แล้ว โดยที่ลูกค้าทุกท่านเราจะส่ง ระบบที่จะคอยเตือนให้ลุกยืนหรือนั่งตามหลัก pomodoro technique ไปให้นะครับ
ถ้าหากท่านใดมีข้อสงสัย หรืออยากซักถามติดต่อเข้ามาได้เลยครับ เราชอบคุยแลกเปลี่ยนกับลูกค้ามาก มากครับติดต่อมาได้เลยไม่ว่าจะเป็น Facebook: www.fb.com/standingdeskthailand Line: @viriqo Mobile: 081-914-9040

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.